ประสิทธิผลของการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง อำเภอเมืองชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นารีรัตน์ บำรุงถิ่น กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • อรุณรัตน์ สู่หนองบัว กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยระยะกลาง, การดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง อำเภอเมืองชัยภูมิ เป็นการศึกษาย้อนหลังในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิระหว่าง เดือน สิงหาคม 2565 – พฤษภาคม 2566 จำนวน 90 ราย  เก็บรวบรวมข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย จากฐานข้อมูล HOSxP โรงพยาบาลชัยภูมิ และข้อมูลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL Index: BI) ในระยะ 6 เดือน ในการดูแลต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูสภาพในชุมชนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยการเยี่ยมบ้าน สังเกตและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์สถิติอนุมานด้วย paired t-test, McNemar’s test, Cochran Q test และ Simple logistic regression  

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 60.0) อายุเฉลี่ย 65.4±4.7 ปี เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ร้อยละ77.8  คะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน(BI) วันจำหน่ายจากโรงพยาบาล เฉลี่ย 7.5±4.3 คะแนน ซึ่งส่วนใหญ่ BI< 11 (ร้อยละ74.4) หลังการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในระยะ 6 เดือน พบว่าส่วนใหญ่มีคะแนน BI เพิ่มขึ้น (BI>11 ร้อยละ 83.3)โดยมีกลุ่มที่คะแนน BI=20 คะแนนเต็มร้อยละ 50.0 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน BI เฉลี่ย พบว่า หลังการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในระยะ 6 เดือน คะแนน BI เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.5 คะแนน (95% CI: 8.5, 10.6) แต่ทั้งนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.3 ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 78.5±7.4 ปี และมีโรคประจําตัว นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงสูงของโรคหลอดเลือดสมองเมื่อแรกรับ (NIHSS≥ 15 คะแนน) มีความเสี่ยงต่อการดูแลแบบระยะยาวหรือเสียชีวิต ( BI<11/dead) ในระยะฟื้นฟู 6 เดือน ถึง 6 เท่า (OR = 6.2; 95% CI: 1.2, 31.5)   

สรุป การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางต่อเนื่องในชุมชน โดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชนและครอบครัว ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย        แต่สำหรับกลุ่มที่มีความรุนแรงสูงหรือค่า BI ต่ำมากควรพิจารณาวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสมก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน.[Internet]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9 รอบที่ 2. 2566.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). นนทบุรี : กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน (Intermediate Care in Community). นนทบุรี: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสูงอายุระยะกลาง ในโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะกลาง Intermediate Care ในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่าง Sample Size Determination. [Internet]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก :https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf

วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์, รุจิรา จันทร์หอม, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care: IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(2):119-32.

วรรณา บุญสวยขวัญ, อมรรัตน์ กลับรอด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียรใหญ่ . วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565;2(2):61-75.

ปิยนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง, วิชัย อารับ, สุวนิตย์ วงศ์ยงค์ศิลป์, ญนัท วอลเตอร์. ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกัน ของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41(2):13-25.

ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2563;17(3):112-24.

ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี, สินีนาฏ นาคศรี. ความสัมพันธ์ของระดับความรุนแรงของโรคกับอาการทางระบบประสาทที่แย่ลง ในระยะแรกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบหรือตันแบบเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564;32(2):146-60.

ถกลวรรณ บุญเต็ม, อ้อมแก้ว นิยมวัน, จีรนุช กองเมืองปัก, จารุวรรณ สุขศรีศิริวัชร. ผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2565;37(3):519-29.

ธีรพร สถิรอังกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ,พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี : กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

กัญญารัตน์ ค้ำจุน, ปานจิต วรรณภิระ, ปราญปริญ ปิ่นสกุล, ศศิธร สมจิตต์. การพัฒนางานฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางแบบต่อเนื่องสู่ชุมชน .พุทธชินราชเวชสาร 2561;35(3):304-12.

อุเทน สุทิน. ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านโดยประสานการมีส่วนร่วมของทีมหมอครอบครัวและชุมชน.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2565.

ประภัสสร วีระประสิทธิ์. การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. Singburi Hospital Journal 2565;31(1):109-26.

ปรีดา อารยาวิชานนท์. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สรรพสิทธิเวชสาร 2559;37(1-3):43-58.

Tourangeau AE, Squires ME, Wodchis W, McGilton K, Teare G, Widger KA. Post-acute stroke patient outcomes in Ontario, Canada complex continuing care settings. Disabil Rehabil 2011;23(2):98-104.

Lim JH, Lee HS, Song CS. Home-based rehabilitation programs on postural balance, walking, and quality of life in patients with stroke: A single-blind, randomized controlled trial. Medicine (Baltimore) 2021;100(35):e27154.

Allen L, Richardson M, McIntyre A, Janzen S, Meyer M, Ure D, et all. Community stroke rehabilitation teams: providing home-based stroke rehabilitation in Ontario, Canada. Can J Neurol Sci 2014;41(6):697-703.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13