การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เสาวภา ไพศาลพันธุ์ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึก, ห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น มีความจำเป็นที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นให้มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึกและการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยได้รับความสุขสบายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนำไปสู่การดูแลที่ดีตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นจนผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายกลับหอผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีพยาบาล จำนวน 18 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมี 3 ด้าน คือ 1) การประเมิน และการเฝ้าระวัง 2) การย้ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้น 3) การบันทึกทางการพยาบาล โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมข้อมูล 2 ชุด คือ 1) แบบสำรวจการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของวิสัญญีพยาบาล ต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นที่พัฒนาขึ้น ตรวจความตรงของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ตรวจความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.74, 0.83 ตามลำดับ 

วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละจากคะแนนการปฏิบัติงาน ส่วนคะแนนความคิดเห็นหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น ด้านการประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วย พบว่า ค่าร้อยละในการปฏิบัติงานด้านการประเมิน การเฝ้าระวังผู้ป่วย และการย้ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้น ภายหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ ส่วนความคิดเห็นด้านการบันทึกทางการพยาบาลในระยะพักฟื้น มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นภายหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ วิสัญญีพยาบาลมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นว่า ทันสมัย สามารถประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาระงับความรู้สึกได้อย่างครอบคลุม ทำให้ลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, นิชกุล นลินี, โกวิทวนาวงษ์ และวิรัตน์ วสินวงศ์, [บรรณาธิการ]. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วิสัญญีปฏิบัติ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. 2555: 86-125.

โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี. รายงานประจำปีกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี, 2557.

วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, ปวีณา บุญบูรพงศ์, อรวรรณ พงศ์รวีวรรณ, ธนิต วีรังคบุตร, (บรรณาธิการ). การระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัด. ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: ทองพูลการพิมพ์. 2550:105-117.

โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี. รายงานภาวะแทรกซ้อนหลังการระงับความรู้สึก. ชัยภูมิ: กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี,2557.

วราภรณ์ เชื้ออินทร์ และสรรชัย ธีรพงศ์ภักดี. (บรรณาธิการ). การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึก. วิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น: ภาควิชาวิสัญญีวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550:351-66.

กรมการแพทย์ สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี. สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์, 2550.

Polit & Hungler. Evaluation Comment, Center for the study of Evaluation of instruction Program. University of Carifornia at Los Angeles. No 2, 2009:47-62.

Aldrete JA, Kroulik D. A postanesthetic recovery score. Anesthesia & Analgesia, 1970;49(6):924-34.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-31

เวอร์ชัน