เปรียบเทียบผลการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดระหว่างเครื่องแบบ POCT กับเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติในเครือข่ายจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สุวารี ชุมภูธิมา กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

PT, INR, เครื่อง POCT

บทคัดย่อ

การติดตามผลของยาวาร์ฟารินเพื่อการควบคุมขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยนั้น ได้มีการปรับปรุงวิธีการติดตามผลด้วยการรายงานผลเป็นค่า INR (International Normalized Ratio) และพัฒนาเครื่องมือทดสอบการแข็งตัวของเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย แต่ยังมีข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของผลการตรวจ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์การแข็งตัวของเลือดระหว่างเครื่องแบบ POCT ยี่ห้อ qLabs ในโรงพยาบาลเครือข่ายกับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Sysmex CS-2000i ที่ใช้ในโรงพยาบาลเลย ศึกษาในผู้ป่วยที่ติดตามการรักษาด้วยยาวาร์ฟารีน จำนวน 200 คน ศึกษาค่าความเที่ยงตรงของการตรวจวัด INR ด้วยเครื่อง qLabsโดยใช้สารควบคุมคุณภาพทดสอบที่ความเข้มข้น 2 ระดับคือระดับปกติ และที่ระดับการรักษา

พบว่า ทุกเครื่องมีค่า INR อยู่ในช่วงที่กำหนดจากผู้ผลิต อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ เปรียบเทียบผลการตรวจวัดค่า PT และค่า INR พบว่าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์และค่าความสอดคล้องระหว่างเครื่องอยู่ในระดับสูง (r  เท่ากับ 0.936, ICC เท่ากับ 0.966) และ (r  เท่ากับ 0.930, ICC เท่ากับ 0.890)ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ผลการวิเคราะห์ด้วย Bland -Altman plot  สำหรับการทดสอบ PT และ INR มีค่าเฉลี่ยของความแตกต่าง (mean different) เท่ากับ -0.19 วินาที และ -0.37 ตามลำดับ หากพิจารณาใช้เครื่อง POCT ในโรงพยาบาลในเครือข่ายจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้ แต่ทั้งนี้การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง POCT ผู้ใช้งานควรศึกษาข้อจำกัดและมีการอบรมการใช้เครื่องจนมีความชำนาญในการใช้งานเพื่อให้ผลการตรวจ ถูกต้องน่าเชื่อถือสูงสุด

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2554). แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพฯ : สมาคมฯ.

ศุกลดี ช้อยชาญชัยกุล, พรทิพย์ มาลาธรรม, สุภานี กาญจนจารี. (2551). การใช้ยาวาร์ฟารินในผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาและการดูแล. Rama Nurse J, 14(3):366-84.

อำพร ไตรภัทร. (2553). กระบวนการห้ามเลือดและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการด้านกระบวนการห้ามเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2 .ขอนแก่น : สายวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Koo TK, Li MY. (2016). A guideline of selecting and reporting intra class correlation coefficients for reliability research. J Chiropr Med, 15(2):155-63.

Bland JM, Altman DG. (1986). Statistical methods for assessing agree¬ment between two methods of clinical measurement. Lancet, 1(8476):307-10.

Bland JM, Altman DG. (1999). Measuring agreement in method com¬parison studies. Stat Methods Med Res, 8(2):135-60.

พรรณีวรานุกูลศักดิ์, ระวีวรรณ พิสิฐพงศ์ธร. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบค่า Prothrombin Time(PT) และ International Normalized Ration(INR) โดยวิธีใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์แบบพกพา Coagucheck XS และเครื่องอัตโนมัติวิเคราะห์การแข็งตัวของเลือด Sysmex CA500 ในผู้ป่วย Stroke fast track. วารสารกรมการแพทย์, 40(2):45-51.

Wieloch M, Hillarp A, Strandberg K, Nilsson C, Svensson PJ. (2009). Comparison and evaluation of a Point-of-care device (CoaguChek XS) to Owren-type prothrombin time assay for monitoring of oral anticoagulant therapy with warfarin. Throm Res, 124(3):344-8.

Uwe Taborski, Siegmund L. Braun, Heinz Voller. (2004). Analytical Performance of the New Coagulation Monitoring System INR Ratio TM for the Determination of INR Compared with the Coagulation Monitor CoaguchekS and an Established Laboratory Method. J Thromb Thrombolysis, 18(2):103–7.

เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย, วันทนีย์ กุลเพ็ง, อุบลวรรณ สะพู, บัญชา สุขอนันตชัย และยศ ตีระวัฒนา. (2556). การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจติดตาม PT-INR ด้วยระบบ Point of Care เพื่อปรับยาและเฝ้าระวังยาในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (วาร์ฟาริน). กรุงเทพ: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน