This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Factors Affecting Severity of Obstructive Sleep Apnea = ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ผู้แต่ง

  • Chonthicha Chit-uea-ophat

บทคัดย่อ

Abstract

Background: Obstructive sleep apnea (OSA) may contribute to several health problems and complications. There have been limited numbers of devices available for facilitating the diagnosis. Thus, major risk factors associated with OSA can be used as a screening tool to identify people who are at risk of OSA. This will help in early diagnosis and appropriate treatment of OSA.

Objective: To explore risk factors for the severity of OSA

Methods: This study was a retrospective cohort study of patients with OSA confirmed by using polysomnography between September 2017 and August 2019 at the outpatient OSA clinic, Chaiyaphum hospital. Patients were divided into two groups, including mild and moderate-to-severe groups. The patient characteristics between the two groups were compared.

Results:  Of the 468 patients who were included in the study, the majority of patients was males (67%) and had moderate-to-severe OSA (70%). The significant risk factors of moderate to severe OSA included male gender, body mass index ≥ 25 kg/m2, neck circumference ≥ 35 cm, systolic blood pressure ≥ 140 mmHg, hypertension, diabetes mellitus and enlarged uvula. Nevertheless, multivariable logistic regression showed that only neck circumference ≥ 35 cm, hypertension and enlarged uvula were significantly different between the two groups.

Conclusion: Identification of different risk factors of moderate-to-severe OSA in clinical settings may help otolaryngologists and general physicians to prioritize the need for further diagnosis and to provide appropriate treatment for patients.

Keywords: Obstructive sleep apnea, Polysomnography, Risk factors, Severity


บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายทั้งระบบและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้ ปัญหาของการวินิจฉัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจมีอยู่อย่างจำกัด จึงมีการนำปัจจัยทางกายภาพหรือลักษณะเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมาใช้ในการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยภาวะนี้ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในระดับความรุนแรงต่างๆ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสมุฏฐานโดยศึกษาจากเหตุไปหาผลในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่ได้รับการตรวจ polysomnography ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกนอนกรน โรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มระดับน้อย และกลุ่มระดับปานกลางถึงรุนแรง เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางกายภาพหรือลักษณะเสี่ยงของทั้งสองกลุ่ม

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 468 คนถูกคัดเข้าสู่การศึกษา เป็นเพศชายร้อยละ 67 ผู้ป่วยร้อยละ 70 มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงรุนแรง ลักษณะเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย ดัชนีมวลกาย 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ความยาวรอบคอ 35 เซนติเมตรขึ้นไป ความดันโลหิต systolic 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และลิ้นไก่โต แต่เมื่อนำลักษณะเสี่ยงดังกล่าวมาวิเคราะห์แบบ multivariable logistic regression พบว่า มีเพียงความยาวเส้นรอบคอ เป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีลิ้นไก่โตเท่านั้นที่มีความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การนำลักษณะเสี่ยงที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงรุนแรงมาใช้ในเวชปฏิบัติ ช่วยให้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือโสต ศอ นาสิกแพทย์ สามารถคัดกรองผู้ป่วยเพื่อตรวจวินิจฉัยตามลำดับความเร่งด่วนได้และผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน