การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ชิณโสม หอผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis (DKA) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA 2 ราย และ ญาติ 4 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม พ.ศ.2563  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสังเกตุ การสัมภาษณ์ผู้ป่วย และ ญาติ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA  อาการ อาการแสดง การรักษา และ ปัญหาทางการพยาบาล  

ผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA ของกรณีศึกษา มีความเหมือนกันคือ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการที่มาคล้ายกันคือ ซึม ปลุกตื่นยาก หายใจหอบเหนื่อย  ไม่พูด และ ปัญหาทางการพยาบาลที่พบคือ 1) เสี่ยงต่อภาวะหมดสติเนื่องจากมีภาวะการคั่งของกรดคีโตนในร่างกาย 2) มีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจากการมีภาวะกรดในร่างกาย 3) มีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากสูญเสียไปกับปัสสาวะจาก osmotic diuresis 4) ไม่สามารถสื่อสารทางวาจาเนื่องจากคาท่อหลอดลมคอ 5) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเนื่องจากภาวะความเจ็บป่วยวิกฤต 6) แบบแผนการดำรงกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เช่น การนอนหลับ การรับประทานอาหาร เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยวิกฤต 7) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง 8)เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 9)ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลงเนื่องจากเจ็บป่วยวิกฤต ความแตกต่างกันคือแผนการพยาบาลข้อที่ 7 คือการสูญเสียการควบคุมพฤติกรรมจากAlcohol withdrawal ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจทำให้โรคมีอาการรุนแรงมากขึ้นใช้เวลาในการรักษานานขึ้นโดยจำนวนวันนอนผู้ป่วยรายที่1 จำนวน 7 วัน รายที่ 2 จำนวน 15 วัน

ดังนั้นพยาบาลควรเน้นถึงการพยาบาลเสี่ยงต่อภาวะหมดสติเนื่องจากมีภาวะการคั่งของกรดคีโตนในร่างกาย และ ทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงที่เป็นสิ่งสำคัญในการให้การพยาบาลที่เร่งด่วน จากนั้นจึงให้การพยาบาลตามแผนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

กนกพจน์ จันทร์ภิวัฒน์, สุรพันธ์ พวศ์สุธนะ, กุลธิดา มณีนิล, นิรดา ศิริยากร, ปิยวรรณ เทียนชัยอนันต์. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. (2563). สถิติประจำปี 2559-2562. นครราชสีมา : กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา.

วิจิตรา กุสุมภ์, [บรรณาธิการ]. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สหประชาพานิชย์.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 8. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

จิราภรณ์ เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, วิชุดา กิจธรธรรม. (2556). การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนผู้เป็นเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(2):63-80.

รื่นจิต เพชรชิต. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2):15-28.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, จุฑามาศ สุขเกษม. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2):93-103.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน