การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในโรงพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์เชิงอภิมาน

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี ยิ่งขจร สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สตา สุทธิโชติ สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นิธิกุล หงส์ทอง สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • วิชชาดา สิมลา สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ศิริรัตน์ ศรีรักษา สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การดื้อยาปฏิชีวนะ; ยาปฏิชีวนะ; โรงพยาบาล; ทวีปเอเซีย

บทคัดย่อ

การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในขณะนี้ โดยความรุนแรงและความชุกในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายาต้านเชื้อแบคทีเรียที่เคยใช้ได้ผล ปัจจุบัน ไม่สามารถฆ่าเชื้อตัวเดิมได้อีก ในปี 2557 องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาทั่วโลก พบว่า อาจมากกว่า 700,000 รายต่อปี และคาดว่าใน ปี พ.ศ. 2593 จะมีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 10 ล้านคน ทั้งนี้การเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดที่ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมกันถึงเกือบ 9 ล้านราย และมีมูลค่าความเสียหายถึง 3,500 ล้านล้านบาท ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเชื้อแบคทีเรียที่มีการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล จากการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์เชิง-อภิมาน (Meta-analysis) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009-2019 โดยค้นหางานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed, Science Direct, Web of Science, Google Scholar และ ThaiJo ได้บทความวิจัยทั้งหมด 21 ฉบับ จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ได้แก่ Escherichia coli ร้อยละ 20.00 (95%CI=17.00–22.00), Klebsiella pneumonia ร้อยละ 12.00 (95%CI=10.00–13.00), Pseudomonas aeruginosa ร้อยละ 8.00 (95%CI=6.00–10.00), Acinetobacter baumannii ร้อยละ 4.00 (95%CI=4.00–5.00) และเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก ได้แก่ Staphylococcus aureus ร้อยละ 6.00 (95%CI=5.00–8.00) ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ความสำคัญกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลโดยมีการกำหนดแผนและนโยบาย ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย ลดทรัพยากร และงบประมาณต่างๆ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้