ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นริศรา คงแก้ว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อนุธิดา ชัยขันธ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ดุษณีย์ สุวรรณคง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โปรแกรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension) เป็นแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เน้นเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไขมันต่ำ ลดไขมันอิ่มตัว และ คอเลสเตอรอล รวมไปถึงเพิ่มการบริโภคเมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อปลา และสัตว์ปีก ร่วมกับควบคุม การบริโภค เกลือโซเดียม ควบคุมน้ำหนักตัวและจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง 72 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 36 คน ระยะเวลา 9 สัปดาห์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้ องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มทดลองได้รับชุดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH เพื่อ (1) สร้างการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง (2) สร้างความคาดหวังใน ประสิทธิผลของการตอบสนองและความคาดหวัง ในความสามารถของตนเพื่อการป้ องกันโรค (3) ส่งเสริมการบริโภค อาหารตามแนวทางของ DASH (4) แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบุคคลที่มีความสำเร็จในการควบคุมระดับความดันโลหิต และ (5) ติดตามเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่าการ รับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค ความคาดหวังในประสิทธิผลต่อการตอบสนอง ความหวังในความสามารถ ของตนในการปฏิบัติเพื่อป้ องกันโรคระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) แรงสนับสนุนทางสังคมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p>0.05) ระดับความดันโลหิต systolic และ diastolic ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที ควรส่งเสริมให้กลุ่มเสี ่ ยงโรคความดันโลหิตสูง มี ่ การปรับวิถีปฏิบัติการบริโภคตามแนวทางของ DASH อย่างต่อเนื่องซึ่งจะสามารถนำไปสู่การลดอัตราการเกิดผู้ป่ วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ฉัตรลดา ดีพร้อม, นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. ผลของโปรเเกรมสร้าง เสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. ภาควิชาวิทยาศาสตร์เเละ เทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2561;38(4):451-61.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.อัตราการป่วยโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/ search/

กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สำหรับวัยทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaidietetics. org/?p=7536

สายหยุด มูลเพ็ชร์. การสำรวจปริมาณโซเดียมที่ขับออกมา ทางปัสสาวะเเละปัจจัยที่มีผลต่อการกินเค็มในกลุ่มผู้ที่มี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล ตำบลดอนเเก้ว อำเภอเเม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2558.

กิจจา ฤดีขจร. ลดความดันโลหิตสูงอย่างไรได้ผล. กรุงเทพมหานคร: รีดเดอร์ส ไอเจสท์; 2550. 6. Seangpraw K, Auttama N, Tonchoy P, Panta P. The effect of the behavior modification program dietary approaches to stop hypertension (DASH) on reducing the risk of hypertension among elderly patients in the rural community of Phayao, Thailand. J Multidiscip Healthc 2019;12:109-18.

Kawamura A, Kajiya K, Kishi H, Inagaki J, Mitarai M, Oda H, et al. Effects of the DASH-JUMP dietary intervention in Japanese participants with high-normal blood pressure and stage 1 hypertension: An open-label single-arm trial. Hypertens Res 2016;39:777-85.

Maddux JE, Rogers RW. Protection motivation and self-efficacy: A revised theory of fear appeals and attitude change. J Exp Soc Psychol 1983;19(5):469-79.

House JS, Landis KR, Umberson D. Social relationships and health. Science 1988;241(4865):540-5.

Rogers RW. A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. J Psychol 1975;91(1):93-114.

เสาวลักษณ์ มูลสาร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎี การรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

พิเชษฐ์ หอสติสิมา. ผลของโปรเเกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชศรีมา พ.ศ.2560. วารสารวิชาการสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2562;25(2):56-66.

สุวรณา สุนทรวิภาต, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, สมชาติ โตรักษา. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุน ทางสังคมในการควบคุม ความดันโลหิตในผู้สูงอายุ เทศบาล ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555;31(6):757-64.

ธีทัต ศรีมงคล, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล, กรกนก ลัธธนันท์. โปรแกรมการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง ตำบล ตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 33(1):77-89.

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์, สุทธีพร มูลศาสตร์, ฉันทนา จันทวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้ องกันโรคความดันโลหิตสูงใน บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง.วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ 2562;37(1):42-51.

เสาวลักษณ์ มูลสาร, เกษร สำเภาทอง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและ แรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบรูพา 2559; 11(1):89-98.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. การติดตามผลของโปรเเกรม สุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเเรงจูงใจ เพื่อป้ องกันโรค ร่วมกับเเรงสนับสนุนทางสังคมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561;33(6): 543-50.

สำรวย กลยณี, ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม. ผลของการประยุกต์ใช้ หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลด ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 2562; 17(2):96-104.

วงศ์ชญพจน์ พรหมศิลา, สุภาพร แนวบุตร, ประทุมา ฤทธิ์ โพธิ์ . ผลของโปรเเกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนเเละค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของ บุคคลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาล 2562; 16(2):95-107.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้