ผลของการส่งเสริมสุขภาพต่อการลดค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • นาอีมะห์ เจะแว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อิบตีซัม กือเตะ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • วิชชาดา สิมลา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุดา ขำนุรักษ์ โรงพยาบาลกงหรา พัทลุง

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้, หลัก DASH diet

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข อีกทั้งเป็นสาเหตุ สำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมสุขภาพต่อการลดค่าระดับความดันโลหิตในผู้ป่ วยโรคความดันโลหิตสูงทีควบคุมไม่ได้และไม่มีโรคร่วมในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จำนวน 74 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน กลุ่มควบคุม 37 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (multi-stage sampling) ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมกิจกรรมบรรยายและ แนะนำเรื่องโภชนาการเพื่อควบคุมและป้ องกันความดันโลหิตสูง กิจกรรมชวนลดความดันสูงด้วย Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet (DASH) การเลือกรูปแบบอาหารที่บริโภคที่เป็นอาหารท้องถิ่นตามหลักของ DASH และการจัดสัดส่วนอาหารโดยแบ่งสัดส่วนของจานแบบ 2 : 1 : 1 ประกอบด้วยผัก ½ ส่วนของจาน ข้าวหรือแป้ ง ¼ ส่วนของจาน และเนื้อสัตว์ ¼ ส่วนของจาน การจัดเวทีเล่าประสบการณ์การบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ใน รูปแบบ 2 : 1 : 1 การบรรยายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง และร่วมกันสร้างปฏิทิน ช่วยเตือนการกินยา การส่งข้อความพร้อมสื่อให้ความรู้ผ่านไลน์ และติดตามเยี่ยมบ้าน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Paired t-test, Wilcoxon Sign Rank test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าความแตกต่างของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง คะแนน ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารตามแนวทางของ DASH คะแนนพฤติกรรมการรับประทานยา ระดับความดันโลหิต systolic และระดับความดันโลหิต diastolic (p<0.05) ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่ วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้อย่างต่อเนื่องและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Hypertension [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 6]. Available from: https://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

HDC จังหวัดพัทลุง. ผู้ป่ วยโรคความดันโลหิตสูงของอำเภอ กงหรา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 16 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/ index_pk.php

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงทีเกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2563 [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 2565 ]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษา โรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaihypertension.org/files/442.HT%20 guideline%202019.with%20watermark.pdf

Khanal MK, Bhandari P, Dhungana RR, Bhandari P, Rawal LB, Gurung Y, et al. Effectiveness of community-based health education and home support program to reduce blood pressure among patients with uncontrolled hypertension in Nepal: A cluster-randomized trial. PLoS One 2021;16(10):1-17.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of sample size in health studies. New York: J. Wiley; 1990.

Fu SN, Dao MC, Wong CKH, Cheung BMY. Knowledge and practice of home blood pressure monitoring 6 months after the risk and assessment management programme: does health literacy matter. Postgrad Med J 2022; 98(1162):610–6.

Spieker AJ, Nelson LA, Rothman RL, Roumie CL, Kripalani S, Coco J, et al. Feasibility and short-term effects of a multi-component emergency department blood pressure intervention: a pilot randomized trial. J Am Heart Assoc 2022;11(5):1-22.

ชวิศาส์ เลิศมงคลธีรกุล, ปฏิพร บุญพัฒน์กุล, อนุแสง จิตสมเกษม. ผลของการให้ความรู้เรื่องการลดโซเดียมในอาหาร และการรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วชิรสารการพยาบาล 2564;23(1):31-45.

Chang TI, Tatoian ET, Montez-Rath ME, Chertow GM. Timing of antihypertensive medications on key outcomes in hemodialysis: a cluster randomized trial. Kidney360 2021;2(11):1752–60.

Jafar TH, Tan NC, Shirore RM, Allen JC, Finkelstein EA, Hwang SW, et al. Integration of a multicomponent intervention for hypertension into primary healthcare services in Singapore-A cluster randomized controlled trial. PLoS Med 2022;19(6):1-22.

Bhandari B, Narasimhan P, Jayasuriya R, Vaidya A, Schutte AE. effectiveness and acceptability of a mobile phone text messaging intervention to improve blood pressure control (TEXT4BP) among patients with hypertension in Nepal: a feasibility randomized controlled trial. Glob Heart 2022;17(1):1-16.

Wiriyatanakorn S, Mukdadilok A, Kantachuvesiri S, Mekhora C, Yingchoncharoen T. Impact of self-monitoring of salt intake by salt meter in hypertensive patients: A randomized controlled trial (SMAL-SALT). J Clin Hypertens 2021;23(10):1852–61.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้