ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ฐิติยา อธิคมานนท์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พัชราภรณ์ ชูแก้ว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ดุษณีย์ สุวรรณคง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • วิชชาดา สิมลา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • กาญจนาภรณ์ ไกรนรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลทุ่งใหญ่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่, โปรแกรมการจัดการตนเอง, การเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมา จากพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอและการ ขาดการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ร่วมกับการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต ในผู้ป่ วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 82 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 41 คน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการ จัดการตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม กลุ่มทดลองรับบริการตามปกติของโรงพยาบาล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน พบว่า พฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 ด้าน (การรับประทานอาหาร การ ออกกำลังกาย และการรับประทานยา) และระดับความดันโลหิตค่า systolic BP ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ระดับความดันโลหิต diastolic BP ระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>00.5) ดังนั้น บุคคลากรสาธารณสุข ควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มมาใช้สำหรับส่งเสริมผู้ป่ วยความดันโลหิตสูง รายใหม่เพื่อให้มีทักษะการจัดการตนเองเกียวกับพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ่ ได้และป้ องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่ เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/ mediadetail.php?id=14502&gid=1-015-005

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยรายใหม่ ของโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรในปีงบประมาณ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://nrt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?

Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change: a textbook of methods 1991. Oxford: Pergamon Press; 1991. p. 305–60.

นพาภรณ์ จันทร์ศรี, กนกพร นทีธนสมบัติ, ทวีศักดิ์ กสิผล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2563;6(2):58- 68.

วิยะการ แสงหัวช้าง. ผลของการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการ กลุ่มและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อความรู้และพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(4):260-73.

ยุพดี ทีปะลา, ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, รัตนชฎาวรรณ อยู่นาค. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบ ต่อระดับความดันโลหิตและดัชนีมวลกายในกลุ่มผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2563;47(3):109-21.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press; 2013.

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951;16:297-334.

นริศรา คงแก้ว, อนุธิดา ชัยขันธ์, ดุษณีย์ สุวรรณคง, ตั้ม บุญรอด. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหารตามแนวทางของ DASH ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(6):1008-18.

Ashoorkhani M, Bozorgi A, Majdzadeh R, Hosseini H, Yoonessi A, Ramezankhani A, et al. Comparing the effectiveness of the BPMAP (Blood Pressure Management Application) and usual care in self-management of primary hypertension and adherence to treatment in patients aged 30-60 years: study protocol for a randomized controlled trial. Trials 2016;17(1):511.

Putri SE, Rekawati E, Wati DNK. Effectiveness of self-management on adherence to self-care and on health status among elderly people with hypertension [Internet]. 2021 [cited 2023 May 19]. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34060750/

ศิรินทรา ด้วงใส, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ ต่อพฤติกรรมการจัดการ ตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41(4):74-85.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษา โรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 19 ส.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.thaihypertension.org/files/HT%20 guideline%202019.with%20watermark.pdf

วรางคณา ไชยวรรณ, รังสิยา นารินทร์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการ รักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงในชุมชน. พยาบาลสาร 2565;49(3):218-32.

Sukpattanasrikul S, Monkong S, Leelacharas S, Krairit O, Viwatwongkasem C. Comparison of hypertensive outcomes after the implementation of self-management program for older adults with uncontrolled hypertension in Krabi, Thailand: a quasi-experimental study. J Health Res 2022;36(4):641-51.

Long KQ, Linh BP, Adler AJ, Shellaby JT, Aerts A, McGuire H, et al. Effect of community-based intervention on self-management of blood pressure among hypertensive adults: findings from the communities for healthy hearts quasi-experimental study in Vietnam [Internet]. 2020 [cited 2023 Mar 10]. Available from: https:// www.novartisfoundation.org/news/media-library

สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร 2563;47(2):85-97.

ชรินรัตน์ ศิริทวี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผล ของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูง โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(2):307-17.

ปรีดา ยศดา, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาล 2562;68(4):39-48.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้