ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ สุมาลี หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดารารัตน์ รัตนรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
  • ภูษิตา อินทรประสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น, การบริหารจัดการ, จังหวัดนครปฐม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายจ่ายลดลงเมื่อ เทียบกับปี ก่อนหน้า ซึ่งผลดังกล่าวอาจมีผลมาจากปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ภาคตัดขวาง ศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้แทนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตำแหน่ง เลขานุการกองทุนฯ หรือผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ประชากรคือกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม จำนวน 116 กองทุน ไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 และค่าสัมประสิทธิ์ ครอนบาคแอลฟา เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติการทดสอบไคสแควร์และการทดสอบของฟิสเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยงบประมาณกองทุนฯ ได้แก่ เงินที่ได้รับการจัดสรรฯ เงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรายได้อื่นๆ มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเพียงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ (ด้านการเงิน) (p<0.05) ที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงควรมีการจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่มีเงินไม่เพียงพอในการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ และควรมีการศึกษาแบบระยะยาวใน การวิจัยครั้งต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119, ตอนพิเศษ 116 ก (ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545).

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตาม ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2561.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.สาระสำคัญกองทุนตำบล [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/113/สาระ สำคัญกองทุนตำบล_-_.pdf.

กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 216 ง (ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561).

อรุณ บุญสร้าง, อารี บุตรสอน, กิตติ เหลาสุภาพ. ผลของ การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพ ท้องถิ่นสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(1): 313- 24.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานสรุปผลการประเมิน สถานการณ์เงินกองทุนสุขภาพตำบล [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564]. แหล่งข้อมูล: https://obt.nhso.go.th/obt/ statement_report.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานสรุปผลการประเมิน กองทุนสุขภาพตำบล [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564]. แหล่งข้อมูล: https://obt.nhso.go.th/ obt/self_evaluation_report.

นพดล พรมรักษา, สมโภช รติโอฬาร, นิตยา เพ็ญศิรินภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2559;9(32):31-43.

มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูทะรสก. การ ดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสาริจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(1): 161-71.

จิรยุทธ์ คงนุ่น, ประยุทธ คลังสิน, สมศักดิ์ ศิริวัฒนากุล, พนม ศักดิ์ เอมอยู่, นุชนัดดา แสงสินศร, บุญศรี เขียวเขิน, และคณะ. การบริหารงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่น (ตำบล) ของจังหวัดพิจิตร ปี 2551. พิจิตร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร; 2552.

นพพล สีหะวงษ์. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัด เพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557. 120 หน้า

ณิชนันท์ งามน้อย, พีระพล รัตนะ. ปัจจัยทีมีผลต่อการดำเนิน งานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;10(1):96- 105.

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, ธารินทร์ เพ็ญวรรณ, ธนัย เกตวงกต, อภิญญา เลาหประภานนท์, รัตติยา อักษรทอง. การประเมิน นโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เขต สุขภาพที่ 11 เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายระยะถัดไป. นครศรีธรรมราช: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบ สุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2561.

กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและ บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 77 ง (ลงวันที่ 2 เมษายน 2563).

พจนีย์ ครุฑวงศ์. ผลสัมฤทธิ์ ของการบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 5 ราชบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 2559;7(3):207-41.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>