ประสิทธิผลในการจัดบริการสุขภาพวิถีใหม่ของบุคลากร เครือข่ายบริการสาธารณสุขอำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • อัญญารัตน์ สมตน หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดบริการสุขภาพวิถีใหม่, บุคลากรเครือข่ายบริการสาธารณสุข, อำเภอสวี, จังหวัดชุมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจ กับการจัดบริการสุขภาพวิถีใหม่ของบุคลากรเครือข่าย บริการสาธารณสุขอำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง แรงจูงใจในการจัดบริการ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพแบบวิถีใหม่ ใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลในการจัดบริการสุขภาพวิถีใหม่ของบุคลากรเครือข่ายบริการสาธารณสุขอำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.61, SD=0.45) พบ 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการจัดบริการ สุขภาพวิถีใหม่ของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด (p<0.05) ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของหัวหน้าบุคลากร (p<0.05) และแรงจูงใจในการจัดบริการ (p<0.05) โดยประสิทธิผลในการจัด บริการสุขภาพวิถีใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อบุคลากรมีแรงจูงใจในการจัดบริการเพิ่มขึ้น และรับรู้ว่าหัวหน้ามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพ โดย การทำแผนอย่างบูรณาการ ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของผู้นำ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดบริการการแพทย์วิถีใหม่ ควรมีมาตรการทบทวนเหตุการณ์ แผนรองรับจากการรับบริการอันไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ สร้างความมั่นใจและความพร้อมในการจัดการกับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงสนับสนุนนวัตกรรม ส่งเสริมความรอบรู้ทาง การแพทย์ และให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลในการจัดบริการสุขภาพวิถีใหม่ของบุคลากรเครือข่ายบริการสาธารณสุข

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และ การวิจัยและ พัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). รายงานข้อมูล สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันเสาร์ที 12 พฤศจิกายน 2564. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://covid19.nrct.go.th/รายงานข้อมูล สถานการณ์-275/

กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินการจัดบริการทางการแพทย์ วิถีใหม่ (New Normal Medical Service). สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง; 2563.

ฐิติมา พรหมศิริ. การแพทย์วิถีใหม่ (New Normal of medical service). วารสารกรมการแพทย์ 2563;46(1):50-1.

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ชุมพร. สถานการณ์ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค.2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.thaigov.go.th /news/contents/details/29299

สรัญณี อุเส็นยาง, คณน ไตรจันทร์, อิศรัฎฐ์ รินไธสง. สุขภาพ องค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตาม บริบทวัฒนธรรม. วารสารการจัดการสมัยใหม่ 2559;14 (2):115-28.

อารีย์ อ่องสว่าง, นิตยา นิลรัตน์. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะของผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการ ดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ สาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(2):272-87.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสวี. เอกสารสรุปแผนการเตรียม ความพร้อมเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอสวี; 20 มีนาคม 2564. ชุมพร: เจริญการพิมพ์; 2564.

วัชรินทร์ บุญรักษา. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารชุมชนวิจัย 2561;12(1):23- 38.

United States Office of Personnel Management. A handbook for measuring employee performance. Washington DC: US Office of Personnel Management; 2017.

Arif S, Akram A. Tranformational leadership and organizational performance. Journal of Management 2018; 1(3):59-75.

สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การไม่แสวงหาผลกำไร กรณี ศึกษา: มูลนิธิแสงธรรมส่องหล้า [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560. 160 หน้า.

Bass BM, Avolio BJ. Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 1994.

Gawel JE. Herzberg’s theory of motivation and Maslow’s hierarchy of needs. Practical Assessment, Research, and Evaluation 1996;5(11):1-3.

Hee CO, Kamaludin NH, Ping LL. Motivation and job performance among nurses in the health tourism hospital in Malaysia. International Review of Management and Marketing 2017;6(4):668-72.

Abioro M. Effect of employee motivation on organizational performance. Acta de Gerencia Ciencia 2013; 1(3):17-27.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>