ประสิทธิผลของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ณัฐนรี ขิงจัตุรัส หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุุคนธา คงศีล ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภูษิตา อินทรประสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โควิด–19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับประสิทธิผลของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับจังหวัด วิเคราะห์ความสัมพันธ์และอธิบายความผันแปรระหว่างลักษณะ บุคลากร ลักษณะองค์กร นโยบายและการปฏิบัติ และลักษณะสิ่งแวดล้อม กับประสิทธิผลของศูนย์ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 53 จังหวัด ที่ได้จากการสุ่ม มีตัวแทนให้ข้อมูล แห่งละ 3 คน ได้แก่ นายแพทย์หรือรอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ และกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ รวม 159 คน งมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่พัฒนามาจากแนวคิดของ Stcers และ Mott วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณ เชิงพรรณนา สถิติส้มประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสั้น และสถิติวิเคราะห์การอลอยพห ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผล ของศูนย์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.89, SD=0.50) โดยพบว่า ทั้ง 4 ปัจจัย มีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับสูง กับประสิทธิผลของศูนย์ฯ ปัจจัยลักษณะบุคลากร (r=0.64) ลักษณะองค์กร (r=0.64) นโยบายและการ ปฏิบัติ (F-0.68) และลักษณะสิ่งแวดล้อม (r=0.70) โดยปัจจัยลักษณะบุคลากร ลักษณะสิ่งแวดล้อม และนโยบาย และการปฏิบัติสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลของศูนย์ได้ ร้อยละ 57.8 โดยเหตุที่ปัจจัยลักษณะ องค์กร ไม่สามารถจะอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลของศูนย์ฯ ได้ อาจเนื่องมาจากผู้บัญชาการเหตุการณ์ใน แต่ละศูนย์กำหนดโครงสร้างองค์กร หน้าที่และอำนาจ รูปแบบการบัญชาการ รวมไปถึงขนาดองค์กรของศูนย์ฯ เป็นไป ตามรูปแบบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทำให้ลักษณะองค์กรของศูนย์ในแต่ละจังหวัดอาจไม่ได้แตกต่างกันมาก ลักษณะองค์กรจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์น้อยที่สุด สามารถนำไปใช้พัฒนาศูนย์ฯ ในระดับจังหวัด โดยอาจพิจารณากำหนดนโยบายในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร นโยบายการจัดการองค์กรที่ดีให้ทุกระบบงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นโยบาย Sman PHEOC มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ ปฏิบัติการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาทักษะ ความรอบรู้ด้านดิจิทัลแก่บุคลากร และสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และนโยบายการบริหาร งานคุณภาพ โดยนำวงจรบริหารงานคุณภาพมาเป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดการดำเนินการ ติดตาม และพัฒนาแก้ไข อย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 25]. Available from: https://www.who.int/europe/ emergencies/situations/covid-19

World Health Organization. Timeline: WHO’s COVID-19 response 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 25]. Available from: https://www.who.int/emergencies/ diseases/novel-coronavirus-2019/interactive-time¬line#!

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบัับ ที่ 3) พ.ศ. 2563 เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย.ราชกิจจานุุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563).

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข. การทบทวนร่วมระหว่างการปฏิบัติการงานด้านสาธารณสุุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทย. นนทบุรี: องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. คำสังกระทรวงสาธารณสุข ที่ 101/ 2563 เรื่อง จัดตังศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (pneumo¬nia caused by novel coronavirus 2019) (ลงวันที่ 30 มกราคม 2563). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุุข; 2563.

Steers RM. Organizational effectiveness: a behavioral view. California: Goodyear Publishing Company; 1977.

Mott PE. The characteristics of effective organizations. New York: Harper & Row; 1972.

Deming WE. Elementary principles of the statistical control of quality: a series of lectures: Tokyo: Nippon Kagaku Gijutsu Remmei; 1950.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.

วริศรา อรุณกิตติพร. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้