การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยหลักการสนทนาธรรม โดยประยุกต์เครื่องมือ 3ส.3อ.1น. บูรณาการกับหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • Denchai Sompong มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วรานิษฐ์ ลำใย สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สนทนาธรรม, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยหลักการสนทนาธรรม โดยประยุกต์เครื่องมือ 3ส. (สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์-วิถีธรรม) 1น. (นาฬิกาชีวิต-วิถีธรรม) บูรณาการกับหลักพุทธธรรม เป็นการศึกษาวิจัยรูปแบบหลายระยะ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น จำนวน 402 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบวัดที่พัฒนาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยหลักการสนทนาธรรม โดยประยุกต์เครื่องมือ 3ส.3อ.1น. บูรณาการกับหลักพุทธธรรม ผลการศึกษา ภายหลังการเช้าร่วมโครงการศึกษา 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วม พบว่าระดับความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  (ร้อยละ 60) ลดลงเฉลี่ย 7.5 mm Hg รอบเอวของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) ลดลงเฉลี่ย 2.50 นิ้ว น้ำหนักของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 ลดลงเฉลี่ย 3.20 กก. ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 ลดลงเฉลี่ย 2 mg/dI คิดเป็นร้อยละ 70 ดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 ลดลงเฉลี่ย 1.5 กก./ม2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุป การนำพลักสนทนาธรรมโดยประยุกต์เครื่องมือ 3ส.3อ.1น. บูรณาการกับหลักพุทธธธธรรม สามกรถทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรือรังของประชาชนได้ จึงควรนำรูปแบบนี้ไปขยายผลในกลุ่มอื่นอื่นและพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้