คิดให้ชัดกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
กัญชา, การแพทย์, ยาเสพติด, นโยบาย, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ประเทศไทยเกิดนโยบายกัญชาทางการแพทย์ครั้งแรกขึ้นในประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ จึงต้องคิดให้ชัดเพื่อที่จะสามารถออกแบบและดำเนินระบบให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดและป้องกันโทษที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเอกสารและสังเคราะห์แนวคิดที่สำคัญ ซึ่งพบว่ากัญชาทางการแพทย์มีทั้งคุณและโทษ มุมมองต่อนโยบายกัญชาทางการแพทย์ก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบ การทำความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจนในสังคมเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่บางส่วนของกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ในการช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยเรื้อรังบางอาการหรือบางโรค แต่กัญชาเป็นยาเสพติด มีฤทธิ์เสพติดจริง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่กล่าวอ้างถึงประโยชน์เกินจริง ประเทศไทยต้องใช้ทั้งมุมมองด้านการแพทย์และการสาธารณสุขควบคู่กันไปในการดำเนินนโยบายกัญชาทางการแพทย์ คือออกแบบระบบให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์และป้องกันผลกระทบทางลบเชิงระบบที่อาจเกิดกับสังคมโดยรวม ควรมีระบบควบคุมที่เข้มข้นเพียงพอที่จะป้องกันผลกระทบเชิงลบได้ อีกทั้งควรออกแบบให้ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยประสานร่วมมือกันเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม และสุดท้ายประเทศไทยยังไม่ควรก้าวไปสู่โมเดลกัญชา เพื่อเศรษฐกิจเนื่องจากยังไม่มีระบบควบคุมกำกับที่ดีพอและอาจจะทำให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคมภายหลังอย่างไม่คุ้มค่าได้ และสุดท้ายที่สำคัญมาก คือต้องมีการลงทุนกับการวิจัยและการสร้างระบบเฝ้าระวังผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยอย่างจริงจังและเพียงพอ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.