ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ภายหลังหลอดเลือดสมองตีบ ในโรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะพงษ์ พาพิทักษ์ โรงพยาบาลสกลนคร

บทคัดย่อ

            ภาวะสมองเสื่อมและซึมเศร้าภายหลังหลอดเลือดสมองตีบยังมีการศึกษาไม่มากนัก อีกทั้งไม่เกิดความ ตระหนักและให้ความสนใจในเวชปฏิบัติทั่วไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าภายหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อมภายหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยศึกษาจากเหตุไปผลและศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบจำนวน 328 ราย ที่รักษาในโรงพยาบาลสกลนคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมอง NIHSS score, MRS score, BI score แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย TMSE และแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q, 9Q วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อมด้วยสถิติ Binary logistic regression

           ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะสมองเสื่อมภายหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบเท่ากับร้อยละ 26.8 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อมหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี (AOR = 4.0, 95% CI = 2.4–2.8) การศึกษาชั้นประถมศึกษา (AOR = 0.44, 95% CI = 0.20–0.74) ภาวะหัวใจเต้นพริ้ว (AOR = 6.60, 95% CI = 2.84–15.34) คะแนนประเมินความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมอง NHISS มากกว่า 4 (AOR = 11.98, 95% CI = 6.1–23.2) และการมีภาวะซึมเศร้าจากการคัดกรองด้วย 2Q (AOR = 15.23, 95% CI = 8.44–27.46) ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบเท่ากับร้อยละ 28.1 ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบ เพื่อจะรักษาได้รวดเร็วและป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้

           คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะสมองเสื่อมหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมองตีบ

ประวัติผู้แต่ง

ปิยะพงษ์ พาพิทักษ์, โรงพยาบาลสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-26