วิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษ เสลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อนุ สุราช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สาโรจน์ นาคจู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรเดช สำราญจิตต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล วิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 มาตรการทางสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาด ผลกระทบต่อประชาชนจากการแพร่ระบาด ระดับความเครียดของประชาชน ความพึงพอใจในการช่วยเหลือทางสังคม และความพึงพอใจของประชาชนต่อจัดการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาด และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,750 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม 7 ส่วน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 และค่าความเชื่อมั่นวิธีสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคในแต่ละส่วนมากกว่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 36 ± 11 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 17,075 ± 12,744 บาท คะแนนเฉลี่ยวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัส COVID–19 (X ̅ = 3.87) มาตรการทางสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาด (X ̅ = 3.93) และความพึงพอใจของประชาชนต่อจัดการของภาค รัฐในการป้องกันการแพร่ระบาด (X ̅ = 3.71) อยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยผลกระทบจากการแพร่ระบาด (X ̅ = 2.72) และการช่วยเหลือทางสังคม (X ̅ = 3.42) อยู่ในระดับปานกลาง และความเครียดอยู่ในระดับต่ำมากที่สุดร้อยละ 52.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับความเห็นที่มีต่อมาตรการทางสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาด ระดับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ระดับความเครียด ความพึงพอใจของประชาชนต่อจัดการของภาครัฐและการช่วยเหลือทางสังคม

         คำสำคัญ: วิถีชีวิตใหม่ การแพร่ระบาด โควิด–19

ประวัติผู้แต่ง

จักรกฤษ เสลา, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มงคล รัชชะ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อนุ สุราช , คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาโรจน์ นาคจู, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุรเดช สำราญจิตต์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-11-08