การศึกษาประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์ทางธนาคารเลือดของ เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติหลักการ Column Agglutination Technique (CAT) โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภวัลย์ คำชาย โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์ทางธนาคารเลือดของเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติหลักการ Column Agglutination Technique (CAT) เครื่อง A และ B เปรียบเทียบกับวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน ในโรงพยาบาลอุดรธานีก่อนจะนำเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติไปใช้ในงานประจำวันเพื่อการรายงานผลตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ ลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยในการรับเลือดงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวอย่างเลือดทดสอบจากงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลอุดรธานีที่ทราบผลการตรวจแล้วโดยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานจำนวน 120 ตัวอย่าง นำมาทำการทดสอบประจำทางธนาคารเลือด ได้แก่ การตรวจหมู่เลือดระบบ ABO (ABO grouping) และ Rh (Rh typing) การตรวจคัดกรองแอนติบอดี(Antibody screening test) การทดสอบสอบความเข้ากันได้ของเลือด (Compatibility test)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) แจกแจงเป็นร้อยละ หาค่าความไว (sensitivity)ความจำเพาะ (specificity) ค่าการทำนายผลบวก (positive predictive value, PPV) และค่าการทำนายผลลบ(negative predictive value, NPV)

           ผลการศึกษา พบว่า ผลการตรวจหมู่เลือด ABO และ Rh การตรวจคัดกรองแอนติบอดีและการทดสอบ ความเข้ากันได้ของเลือดของเครื่อง A และ B ให้ผลการทดสอบสอดคล้องกับวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน คือมีค่า sensitivity, specificity, PPV และ NPV เท่ากับ ร้อยละ 100 ในทุกรายการทดสอบ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติหลักการ CAT เครื่อง A และ B ให้ผลการทดสอบสอดคล้องกับวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน จึงมีประสิทธิภาพเหมาะสมในการนำไปใช้ในงานประจำของงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลอุดรธานี

          คำสำคัญ: การตรวจหมู่เลือด ABO การตรวจคัดกรองแอนติบอดี ความเข้ากันได้ของเลือด

ประวัติผู้แต่ง

ศุภวัลย์ คำชาย, โรงพยาบาลอุดรธานี

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลอุดรธานี

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30