รูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะผู้วิจัย โภชนากร ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร (chef) ตัวแทนอาจารย์ ตัวแทน เจ้าหน้าที่ ตัวแทนนักศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข การท่องเที่ยว พานิชย์จังหวัด ผู้ประกอบการร้านอาหาร และประชาชน ทั่วไป เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยความสมัครใจ รวมทั้งหมด 79 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การ สังเกต และการระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม ที่พัฒนาขึ้น คือ เซเว่น เอส โมเดล (7’S model) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ (Subject) การตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) ระบบการบริหารจัดการ (Management system) อาคาร สถานที่ (Surrounding system) วัตถุดิบและรายการอาหาร (Substances) การปรุงอาหาร (Cooking style) และการควบคุม คุณภาพ (Quality control system)
ข้อเสนอแนะ คณะผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัด ได้แก่ ฝ่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การท่องเที่ยว พานิชย์จังหวัด ควรดำเนินการก่อตั้งและจัดการร้านอาหารเพื่อ สุขภาพให้เป็นรูปธรรม ร่วมกับใช้คู่มือการใช้รูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีนครพนมเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ การจัดการร้านอาหาร อาหารสุขภาพ