ความชุก ปัญหาจากการใช้ยา และผลลัพธ์ของการใช้ยา หลายขนานในการรักษาผู้ป่วย: การทบทวนวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ รักเล่ง โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความซุก, ปัญหาจากการใช้ยา, ยาหลายขนาน, ผลลัพธ์ของการใช้ยาหลายขนาน, การทบทวนวรรณกรรม

บทคัดย่อ

การใช้ยาหลายขนาน คือการใช้ยามากกว่าแนวปฏิบัติ หรือใช้ยาพร้อม ๆ กันหลายขนานในการรักษาโรค การใช้ยาหลายขนานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้ป่วยและการมีโรคร่วม สำหรับผลกระทบ ต่อการใช้ยาหลายขนาน ได้แก่ การเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ อันตรกิริยาระหว่างยา ความร่วมมือในการใช้และการใช้ยาไม่สมเหตุสมผล ในส่วนของผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ การเสียชีวิต การเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดความจำเสื่อม การเป็นลมหมดสติ การหกล้ม และความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ข้อเสนอแนะจากการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ แพทย์และบุคลากรทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรคำนึงและเพิ่มความระมัดระวัง ในกรณีที่มีการสั่งจ่ายยาหลายขนานเพื่อป้องกันปัญหาจากการใช้ยา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจากการใช้ยา นอกจากนี้ การทำการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาประเด็นความชุก ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง และผลลัพธ์ของการใช้ยาหลายขนานในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-09

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>