การเปรียบเทียบผลของกระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยและผู้ดูแลโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
กิจวัตรประจำวัน, ความรู้, โรคหลอดเลือดสมอง, กระบวนการฟื้นฟูบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเพียบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบรายใหม่ที่จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูร่างกายต่อเนื่องหลังพ้นระยะวิกฤติและผู้ดูแล ในโรงพยาบาลชะอวด และโรงพยาบาลเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดผลระยะก่อนและหลังเข้ารับกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คู่ กลุ่มทดลองได้รับกระบวนการฟื้นฟูที่ประยุกต์แนวคิดการให้ข้อมูลแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรมของฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ ปี ค.ศ. 2003 เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับกระบวนการฟื้นฟูร่างกายตามแนวปฏิบัติเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ (3) โปรแกรมส่งเสริมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลเพื่อฝึกการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Fisher’s exact test, Independent t-test, Wilcoxon signed-rank test และ Wilcoxon rank-sum (Mann-Whitney) test พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยและผลต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตรงกันข้ามกับผู้ดูแลทั้งสองกลุ่มที่มีค่าดังกล่าวไม่แตกต่างกัน ดังนั้น กระบวนการฟื้นฟูร่างกายตามแนวคิดการให้ข้อมูล แรงจูงใจและทักษะพฤติกรรม ที่มีการให้ความรู้ผู้ป่วยแบบจำเพาะตามกิจกรรมที่ยังไม่บรรลุเป้าตามความต้องการและเหมาะสมกับบริบท และควรใช้การพูดคุยแบบตัวต่อตัว เชิงโต้ตอบ มีการอภิปรายรวมถึงให้คำปรึกษาที่เสริมพลังแก่ผู้ป่วย ทำให้ความรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น นำสู่การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองและลดโอกาสพิการ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.